Book

Striking! Advertising Matches from Singapore

(EN)

Type: Book

Author: Justin Zhuang

Publisher: In Plain Words, Temporary Press

Book Design: gideon-jamie

Size: 74×105 mm

Pages: 400

Publication: 2022

The match industry in Singapore began to augment in the 1960s as part of the government’s industrialization plan. At a time when lighters and gas appliances had yet to become commonplace, in Singaporean society, people were still bound to live by using charcoal stoves and oil lamps. The matchboxes, then, were a product that reached a broad group of people. The matchbox infiltrates every household as a part of life that becomes indispensable. Since the matchboxes come with a space that fits in the palm, it led to a new path, another channel of advertising space to promote the business to be known. It is often given to potential customers to complement their business.

The result of Smoking Act of 1970 prohibited cigarette and tobacco advertising in conventional media, and the manufacturers began to attract customers with advertising matches. After that, it gradually expanded into other businesses, such as food and beverage, including entertainment. The matchboxes and matchbooks were then served as souvenirs or even business cards. The cardboard boxes’ design always featured the business’s name, logo, and contact details, created mainly by advertising and creative agencies. The 5.5 by 3.5 centimeters of advertising space then became part of a more extensive marketing campaign. It also represented a crucial moment, a milestone in creative graphic design for this small space. 

‘Striking! Advertising Matches from Singapore’ is a book from Yeo Hong Eng’s vintage advertising book collection published by In Plain Words in partnership with Temporary Press. It begins with a detailed story that paves the way for an understanding of Singapore’s history of the match industry. Even the development of advertising space and the loss of popularity after the gradual change in lifestyle and housing. The book explores various advertising design patterns on matchboxes, with the content divided into seven themes by categorizing advertising graphics into those themes. It reflects the style and direction and presents various stories in different formats, some of which refer to the context of the situation at that time – the thought processes, views, tastes, and even the multicultural society of Singapore. In addition to the role of capturing images and stories that help to see the time loop of having to adjust and put the advertisements on the matchboxes, the reflections of the collective thinking in society at that time appear equally parallel. Perhaps this is due to insertion into an essential part of people’s lifestyle, especially with the food business linked to Singapore’s culture.

 More information

 

อุตสาหกรรมไม้ขีดไฟในประเทศสิงคโปร์ได้เริ่มต้นแพร่หลายอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 1960 เนื่องด้วยเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาล ในช่วงเวลาที่ไฟแช็กและเตาแก๊สยังเป็นอุปกรณ์ของใช้ที่ยังไม่แพร่หลาย วิถีชีวิตในสังคมสิงคโปร์ ผู้คนยังคงผูกติดกับการดำเนินชีวิตด้วยการใช้เตาถ่านและตะเกียงน้ำมัน ไม้ขีดไฟจึงเป็นสินค้าที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้กว้าง อาจกล่าวได้ว่าแทรกซึมเข้าไปอยู่ในทุกครัวเรือน เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และเป็นเพราะกล่องไม้ขีดไฟมาพร้อมกับพื้นที่ว่างขนาดพอดีฝ่ามือ จึงนำไปสู่หนทางใหม่อีกหนึ่งช่องทางของพื้นที่โฆษณาเพื่อโปรโมทธุรกิจให้เป็นที่รู้จัก โดยลูกค้าที่มีศักยภาพก็จะเข้ามาเติมเต็มธุรกิจในส่วนนี้ 

ผลจากการควบคุมการโฆษณาบุหรี่และยาสูบในปี 1970 บนช่องทางสื่อโดยทั่วไป ทำให้ผู้ผลิตเริ่มหันมาดึงดูดลูกค้าด้วยโฆษณาบนกล่องไม้ขีดไฟ โดยเป็นที่รู้จักในชื่อ “โฆษณาบนกล่องไม้ขีดไฟ” (advertising matches) หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ขยายสู่ธุรกิจอื่น อย่างอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสถานบันเทิง ไม้ขีดไฟจึงเปลี่ยนสถานะเป็นของที่ระลึกหรือแม้กระทั่งนามบัตรที่จะถูกมอบให้ลูกค้า การออกแบบกราฟิกบนกล่องไม้ขีดจึงเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่โดยดีไซน์มักจะประกอบด้วยชื่อ โลโก้ และรายละเอียดการติดต่อของธุรกิจ ส่วนใหญ่ถูกทำขึ้นโดยเอเจนซี่โฆษณาและครีเอทีฟ ตั้งแต่นั้นมา พื้นที่โฆษณาขนาด 5.5 x 3.5 เซนติเมตรนี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญการตลาดที่ใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ พื้นที่โฆษณาขนาดเล็กนี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการสร้างสรรค์งานกราฟิกโฆษณาของสิงคโปร์ด้วยเช่นกัน

‘Striking! Advertising Matches from Singapore’ เป็นหนังสือที่นำมาจากคอลเลกชั่นหนังสือโฆษณาแนววินเทจของ Yeo Hong Eng จัดพิมพ์โดย In Plain Words ร่วมกับ Temporary Press หนังสือเล่มเล็กพอดีฝ่ามือเล่มนี้  เริ่มต้นด้วยรายละเอียดเรื่องราวสำหรับปูทางสร้างความเข้าใจถึงความเป็นมาของอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟในสิงคโปร์ กระทั่งการปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่โฆษณา และการหมดความนิยมหลังรูปแบบการใช้ชีวิตและที่อยู่อาศัยที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ก่อนพาสำรวจรูปแบบการออกแบบโฆษณาต่าง ๆ บนกล่องไม้ขีด โดยแบ่งออกเป็น 7 หมวดหมู่ย่อย ด้วยการจำแนกภาพกราฟิกโฆษณาออกเป็นหมวดหมู่ดังกล่าว ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบและทิศทางการบอกเล่า นำเสนอหลากเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ บางรูปแบบก็อ้างอิงถึงบริบทสถานการณ์ในช่วงเวลาขณะนั้น ไปจนถึงกระบวนการคิด ทัศนะ รสนิยม และแม้แต่รูปแบบสังคมพหุวัฒนธรรมของสิงคโปร์ นอกเหนือจากบทบาทการเก็บบันทึกภาพและเรื่องราวที่ช่วยให้เห็นช่วงเวลาของการต้องปรับเปลี่ยนนำโฆษณาเผยแพร่ลงบนกล่องไม้ขีดไฟ ภาพสะท้อนของชุดความคิดโดยรวมของสังคมในช่วงเวลาดังกล่าวก็ปรากฏคู่ขนานกันไปอย่างเท่าเทียมกัน อาจสืบเนื่องจากการแทรกเข้าไปส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจอาหารที่ผูกโยงกับวัฒนธรรมของผู้คนในสิงคโปร์

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม