(EN)
Type: Book
Publisher: Office of Contemporary Art and Culture (OCAC)
Pages: 206
Publication: 2017
Art and culture share an enduring relationship, with art finding expression in diverse forms. Both are shaped by the cultural paradigm, though disparities can emerge between art and contemporary culture. The surge of globalization has broadened horizons, expanding knowledge and physical boundaries, thereby facilitating the exchange of “elements” that define cultures. Consequently, contemporaneity assumes a global standing, referencing and constructing cultural frameworks that facilitate interaction between central and peripheral domains. In this juncture of referencing and adaptation, a localized manifestation of contemporaneity emerges. This adaptation strives to harmonize with the artistic and cultural ethos of the region. Contemporary arts and culture in Thailand exemplify this phenomenon, wherein Western contemporary approaches are assimilated, ingeniously infused with Thainess, and woven into the fabric of that knowledge framework. This integration is palpable across art, design, architecture, cinema, music, and extensive literary works.
This book examines numerous contemporary art and culture disciplines in Thailand. Each section illustrates the transition from the original, distinctive Thai creative style to the acceptance of contemporary concepts and the development of its own definition of contemporary style. This book provides a fascinating account of the development of contemporary Thai art and culture.
ศิลปะและวัฒนธรรมนั้นมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน กล่าวคือศิลปะที่แสดงออกมาในรูปแบบใด ๆ ก็ล้วนก่อร่างขึ้นจากกระบวนทัศน์ภายใต้วัฒนธรรมนั้น ๆ หากแต่สำหรับศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยอาจแตกต่างออกไป จากรูปแบบการแผ่ขยายของพรมแดนทั้งทางความรู้และพื้นที่ตามกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้เกิดการลื่นไหลและแลกเปลี่ยนระหว่าง “สิ่ง” ที่นิยามความเป็นวัฒนธรรม ดังนั้นความเป็นร่วมสมัยจึงมีสถานะความเป็นสากลไปพร้อม ๆ กัน โดยอ้างอิงและสร้างชุดวัฒนธรรมที่โต้ตอบระหว่างศูนย์กลางกับพื้นที่อื่น และในช่วงขณะของการอ้างอิงและปรับรับก็ได้ก่อเกิดความเป็นร่วมสมัยที่เฉพาะพื้นที่ขึ้นมา อันนับเป็นการยื้อยุดต่อรองให้เกิดการสอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมภายในพื้นที่เหล่านั้น ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยในไทยก็เฉกเช่นเดียวกัน ที่เมื่อมีการรับเอาแนวทางความเป็นร่วมสมัยจากตะวันตกเข้ามาก็มีการปรับประยุกต์ผนวกเอาความเป็นไทยผสานลงในชุดองค์ความรู้นั้น ๆ ได้อย่างแยบยล ดังปรากฏเป็นผลงานทั้งทางศิลปะ งานออกแบบ สถาปัตยกรรม ภาพยนตร์ ดนตรี รวมถึงวรรณกรรมอย่างมากมาย
หนังสือเล่มนี้พาไปสำรวจศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยในแขนงต่าง ๆ ของไทย โดยในแต่ละส่วนได้บอกเล่านับตั้งแต่กระแสรูปแบบการสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ต่อเนื่องยังรอยต่อเมื่อเปิดรับนำแนวคิดความเป็นร่วมสมัยเข้ามาผนวก และการปรับพัฒนานิยามรูปแบบความเป็นร่วมสมัยของตนเอง เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่แสดงภาพการก่อร่างความเป็นร่วมสมัยในงานศิลปวัฒนธรรมไทยไว้อย่างน่าสนใจ