Magazine

Lanna Vernacular

The ASA Journal
November - December 2024
Lanna Vernacular

(TH / EN)

Type: Book / E-book

Publisher: The Association of Siamese Architects under Royal Patronage

Book Design: art4d WORKS

Size: 215×275 mm

Pages: 80

Publication: 2024

The definition of vernacular architecture has evolved far beyond its initial characterization, often described as a product of local wisdom passed down through generations without professional architects’ involvement or known as architecture without architects. Nowadays, vernacular architecture has increasingly become a design approach many professional architects embrace, and the relationship between vernacular architecture and its contextual environment continues to be strongly understood. The Lanna architects, in particular, stand out when addressing this subject. The interpretation, use of language, design elements, and architectural creative processes may vary in each architect’s work. Yet, it is interesting and remains to be explored if there are common threads connecting them.

In this issue of the ASA Journal, we look into the origins and evolution of the definition of “Lanna Vernacular Architecture” and present design works by new generation architects from the northern region. Housescape Design Lab, 1922 Architects, Hanabitate Architects, Jaibaan Studio, and Homesook Studio.
These architects interpret the language, elements, and techniques of Lanna vernacular architecture within the contemporary context, reflecting a diverse range of styles across various types of work and each studio’s unique design approach. In addition, this issue interviews Yangnar Studio, one of the design studios that significantly promotes local wood-working traditions in collaboration with a network of architects and designers in the region. The journal also features a conversation with Soft Architect, a group of new-generation architects from Phitsanulok.

 

ทุกวันนี้ คำนิยามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นมากกว่าเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถ่ายทอดส่งต่อกันมา โดยไม่มีสถาปนิกมืออาชีพออกแบบ เพราะในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นหนึ่งในแนวทางการออกแบบของหลายสถาปนิกวิชาชีพมากขึ้น และความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกับบริบทของพื้นที่นั้น ๆ ยังคงยึดโยงกันอยู่ในความเข้าใจทั่ว ๆ ไป โดยสถาปนิกจากภูมิภาคล้านนา น่าจะมีความโดดเด่นมาเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อนึกถึงประเด็นด้านนี้ ซึ่งการตีความ การเลือกใช้ภาษา องค์ประกอบทางการออกแบบ และกระบวนการสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมอาจมีความหลากหลายต่างกันไป หรือยังคงมีสิ่งใดเป็นจุดร่วมกันหรือไม่

“พื้นถิ่นล้านนา” (Lanna Vernacular) ธีมของวารสารอาษาฉบับนี้ เป็นการสำรวจที่มาที่ไปของนิยามและวิวัฒนาการ “สถาปัตยกรรมล้านนา”
และนำเสนอผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมในภาคเหนือโดยสถาปนิกรุ่นใหม่ในภูมิภาค ที่มีการตีความ ภาษา และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนเทคนิคการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล้านนาในบริบทของปัจจุบัน ที่ต่างกันไปในเนื้อหางานประเภทต่าง ๆ และสไตล์ของสถาปนิกแต่ละสตูดิโอ ได้แก่ Housescape Design Lab, 1922 Architects, Hanabitate Architects, ใจบ้าน สตูดิโอ และ โฮมสุขสตูดิโอ นอกจากนี้ ยังมีบทสนทนากับยางนาสตูดิโอ หนึ่งในสตูดิโอออกแบบที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานช่างไม้ ในท้องถิ่นร่วมกับเครือข่ายสถาปนิกนักออกแบบในภูมิภาค และบทสัมภาษณ์ Soft Architect อีกหนึ่งกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่จากจังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย