(EN/TH)
Type: E-book
Publisher: HOP – Hub of Photography
Pages: 16
Publication: 2025
Initiated from a personal experience of riding a motorcycle along Bangkok’s rough, uneven streets, this journey merges with the memory of Mittraphap Road—a symbolic route leading back to the artist’s hometown. Tada Hengsapkul, a contemporary artist known for his video works, photography, and installations, often invites viewers to engage with or immerse themselves in environments infused with a militaristic aesthetic.
In this exhibition, Tada offers a layered interpretation that steps beyond conventional boundaries. Through distorted landscapes and surreal representations, he confronts Thai society’s structural problems and inequalities, especially the state’s repeated administrative failures. His work reimagines the perpetually unfinished road as a symbolic resistance to the polished, propagandistic visions presented by the state.
“The hpargotohp reflects and teases the image of a strangely mundane appearance. Capturing happenings that invite questioning within an almost monochrome scene, these images transform into photographs that narrate the story of the friendship road. Like a postcard, a different face invites you to travel, experience together, to exist and be outside – within- between this artificial image.”
This publication for the exhibition does more than document the installation and atmospheric elements curated by the artist. It also features curatorial writing that invites ongoing dialogue—prompting readers to reflect on the aesthetic dimensions of Thailand’s perplexing sociopolitical conditions.
ริเริ่มจากประสบการณ์ส่วนตัวระหว่างขับขี่รถจักรยานยนต์เดินทางกลับที่พักบนท้องถนนที่ขรุขระในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาบรรจบกับถนนมิตรภาพในความทรงจำระหว่างเดินทางกลับภูมิลำเนาของ ธาดา เฮงทรัพย์กูล ศิลปินร่วมสมัยผู้สนใจในการสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอ ภาพถ่าย และงานจัดวาง โดยมักเชื้อเชิญให้ผู้ชมมีส่วนร่วม หรือดื่มด่ำจมอยู่กับประสบการณ์ (immersive) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสุนทรียะของสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะทางการทหาร
ในนิทรรศการ ‘A ROCKING ROAD TO THE MOON – ยืนบนถนนคนสู้เพื่อฝัน…’ ธาดาได้ถ่ายทอดการตีความ โดยผละจากขอบเขต และตอกย้ำความสัมพันธ์เชิงปัญหา (ปัญหาเชิงโครงสร้าง ความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการที่ล้มเหลวของภาครัฐ) ผ่านฉากปรากฏการณ์อันบิดเบี้ยวจากการจำลองภาพถนนที่ไม่เคยสมบูรณ์แล้วเสร็จ เพื่อโต้ตอบกับทัศนียภาพโฆษณาชวนเชื่อโดยภาครัฐ
“พาภ สลับกับสะท้อน หยอกหยันภาพ ปรากฏ( กาล )แสนธรรมดาพิลึกพิลั่น บันทึกเหตุการณ์ที่อาจต้องทวนถามกับฉากภาพเกือบขาว/ดำ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นภาพถ่ายบอกเหตุบนถนนสายสัมพันธ์ ต่างโปสการ์ดต่างหน้าเชื้อเชิญออกเดินทาง สัมผัสร่วมประสบ การณ์ ดำรงเป็นและอยู่นอก-นัย-ระนาบภาพประดิษฐ์แผ่นนี้”
สิ่งพิมพ์ประกอบนิทรรศการฉบับนี้ ไม่เพียงแต่จะเรียบเรียง ภาพบรรยากาศนิทรรศการกับฉากประดิษฐกรรมโดยศิลปินเพียงเท่านั้น หากแต่ข้อเขียนจากภัณฑารักษ์ก็ชวนให้เกิดการสร้างต่อ ด้วยการกระตุ้นเตือนให้ย้อนขบคิดกับมิติเชิงสุนทรียะของสภาวะการณ์ที่ปรากฏไว้อย่างน่าฉงน